Effects of Adapted Small Volume Jet Nebulizer on Clinical Outcomes   in 1-5 Year Old Asthmatic Children

Authors

  • สุทธดา ตั้งอยู่ดี นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เรณู พุกบุญมี สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เสริมศรี สันตติ สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิศสมัย อรทัย สาขาวิชาการพยาบาลพื้นฐาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

อุปกรณ์พ่นฝอยละอองยาแบบดัดแปลง, ผลลัพธ์ทางคลินิก, เด็กที่เป็นโรคหืด, adapted small volume jet nebulizer, clinical outcomes, asthmatic children

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้อุปกรณ์การพ่นฝอยละอองยาแบบดัดแปลงต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในเด็กอายุ 1-5 ปี ที่เป็นโรคหืด กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุ 1-5 ปี ที่เป็นโรคหืดที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2557 มีคำสั่งการรักษาโดยการพ่นยาขยายหลอดลม จำนวน 134 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ สุ่มเลือกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการจับฉลาก กลุ่มทดลองได้รับการพ่นฝอยละอองยาด้วยอุปกรณ์พ่นยาแบบดัดแปลง จำนวน 68 คน กลุ่มควบคุมพ่นด้วยอุปกรณ์แบบปกติ จำนวน 66 คน ประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกหลังพ่นฝอยละอองยา 15 นาที โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงคะแนนอาการทางคลินิกตามเกณฑ์ของแครอลและคณะ ได้แก่ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง อัตราการหายใจต่อนาที และระดับเสียงวี๊ดหลังพ่นฝอยละอองยาด้วยสถิติทดสอบ Mann-Whitney U test  และเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที หลังพ่นฝอยละอองยาด้วยสถิติ ANCOVA

            ผลการวิจัยพบว่า หลังพ่นยามีการเพิ่มขึ้นของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง  มีการลดลงของอัตราการหายใจต่อนาที และมีการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงวี๊ด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งสนับสนุนสมมุติฐาน แต่อัตราการเต้นของหัวใจต่อนาทีแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) จากผลของยาขยายหลอดลมที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจทั้ง 2 กลุ่มเร็วขึ้นหลังพ่นยา ดังนั้นหากขยายเวลาการวัดผลลัพธ์ทางคลินิกออกไปให้นานขึ้น อาจจะสรุปผลได้ดีขึ้น

           ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การนำอุปกรณ์แบบดัดแปลงดังกล่าวมาใช้ในเด็กอายุ 1-5 ปี น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาด้วยการพ่นฝอยละอองยาให้มีประสิทธิภาพเพื่อผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น

Effects of Adapted Small Volume Jet Nebulizer on Clinical Outcomes   in 1-5 Year Old Asthmatic Children

           This study was a quasi-experimental, pretest-posttest designed research to investigate the effects of adapted small volume jet nebulizer on clinical outcomes in 1-5 year old asthmatic children. The subjects comprised 134 children being treated for asthma exacerbation at the Pediatric Out-Patient Department in one district Hospital. The samples were purposively selected for the study according to the sampling criteria and data were collected from September to December 2014. All subjects were randomly assigned into either control (n = 66) or experimental groups (n = 68). The experimental group received an aerosolized bronchodilator with the adapted small volume jet nebulizer while the control group received an aerosolized bronchodilator with conventional small volume jet nebulizers. After 15 minutes of aerosolized, oxygen saturation, respiratory rate per minute, heart rate per minute, and degree of wheezing were assessed. The Modified Pulmonary Index Score developed by Carroll et al. was used to measure clinical outcomes after aerosol treatment. The difference of the mean scores of change between the control group and the experimental group were analyzed by Mann-Whitney U test and ANCOVA.

            The results of this study showed that the subjects in the experimental group had a higher increase in oxygen saturation, greater reduction in respiratory per minute, and greater change in degree of wheezing than the control group with a statistical difference of (p<.05) which accepted the hypothesis. However, the rest clinical outcome which was heart rate per minute showed no significant difference (p > .05) due to the action of the bronchodilator that made the heart rate increase in both groups. Longer time to evaluate the clinical outcomes was needed to explore the better outcomes. In conclusion, the use of an adapted small volume jet nebulizer in 1-5 year old children might be another choice for aerosol therapy to get the most efficient and good clinical outcomes.

Downloads

Published

2018-04-16

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)