การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • Patchima Pinyo สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, ความเป็นพลเมืองของนักเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยออกแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ ใช้การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาตัวบ่งชี้ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมเชิงเนื้อหาของตัวบ่งชี้ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินตัวบ่งชี้ เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้ด้วยแบบประเมิน นำมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในแต่ละตัวบ่งชี้ แล้วปรับปรุงตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญเชิงทฤษฎี และขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ ตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนประถมศึกษา เขตตรวจราชการที่ 13 จำนวน 490 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้ และแบบตรวจสอบตัวบ่งชี้ ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม Mplus

ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา มีผลการประเมิน โดยภาพรวม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.92, 4.63) และจากตรวจสอบตัวบ่งชี้ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา แบบที่ให้ความเป็นพลเมืองของนักเรียนเป็นตัวแปรแฝง และความรู้ คุณลักษณะ และพฤติกรรมความเป็นพลเมืองของนักเรียนเป็นตัวแปรสังเกตได้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ที่แตกต่างศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (=39.418, df=29, p=0.092,  CFI = 0.993, TLI = 0.982, RMSEA =0.019, SRMR =0.011 และ / df = 1.359) จึงสรุปได้ว่ามีองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้งหมด 3 ด้าน 74 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) ด้านความรู้ (2) ด้านคุณลักษณะ และ(3) ด้านพฤติกรรม มีความเหมาะสมที่จะนำเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และ 2) ตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา มีผลการประเมิน โดยภาพรวม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.87, 4.67) และจากตรวจสอบตัวบ่งชี้ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองของนักเรียน แบบที่ให้การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนเป็นตัวแปรแฝง และการบริหารจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ หลักสูตรการจัดการเรียนรู้เพื่อความเป็นพลเมือง การจัดการเรียนรู้และการประเมินผลเป็นตัวแปรสังเกตได้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ที่แตกต่างศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( = 48.274, df= 36, p= 0.0830, CFI = 0.999, TLI = 0.998, RMSEA = 0.018, SRMR = 0.009และ / df = 1.341) จึงสรุปได้ว่ามีองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้งหมด 4 ด้าน 38 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ (2) ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนรู้เพื่อความเป็นพลเมืองของนักเรียน (3) ด้านการจัดการเรียนรู้และการประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียน มีความเหมาะสมที่จะนำเป็นตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.
จันทนา บุญญานุวัตร์. องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2549.
ชรินทร์ มั่งคั่ง. การศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมด้านความเป็นพลเมืองดี ในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา. สำนักวิชาการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
ณัฐพร แสงภู่. การศึกษาการดำเนินกิจกรรมนักเรียนตามโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 – 2
สังกัดสำนกงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี, 2547.
นิรมล จันทรศิริ. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแบบหมวกหกใบ เรื่องการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551.
ประภัสสร ไพบูลย์ฐิติพรชัย. การศึกษาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนพณิชยการบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี.
การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
ปลินธร เพ็ชรฤทธิ์. สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีให้แก่นักเรียน
มัธยมศึกษา ของครูสังคมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
พูนภัทรา พูลผล. ผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ควรเป็นอย่างไร. (ออนไลน์) 2557 (อ้างเมื่อ 17 ธันวาคม 2557) จาก
http://www.plearnpattana.ac.th/m465/index.php?option=com_content&task=view&id=3381&Itemid=75.

ไพบูลย์ ชาวกงจักร. สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในการดำเนินงานโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 2549.
มรกต อนุเคราะห์. การพัฒนางานวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านต้นปล้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4 สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 2548.
ยุทธศิลป์ ผาอำนาจ. การศึกษาเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาการดำเนินงานวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านอ่างบูรพาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 2550.
ฤาชุตา เทพายากุล. วารสารเรียนรู้ประชาธิปไตยปีที่ 3 ฉบับที่ 9 มกราคม – มีนาคม 2554. สงขลา:
มาสเตอร์พีช แอนด์ โครเชท์, 2554.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร, 2554.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. การวิจัยเอกสารการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด, 2548.
ศรัณยู หมั้นทรัพย์. การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า.
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ( พ.ค.-ส.ค. 2551) หน้า 101-115.
สิริวรรณ ศรีพหล. รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็น
พลโลกของนักเรียนสำหรับครูสังคมศึกษา. นนทบุรี : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551. สุจิตรา วันทอง. การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะพลเมืองดีตามวิถี
ประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
สํานักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. รวมกฎหมายกฎ ระเบียบการบริหารงานบุคคลด้านกฎหมาย
ของขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภา, 2553.
อิทธิพล ปรีติประสงค์. สังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน การพัฒนาเยาวชนพลเมืองสิงคโปร์ จากเครือข่ายเยาวชน
สิงคโปร์ (ออนไลน์) 2557 (อ้างเมื่อ 14 มกราคม 2558) จาก https://www.gotoknow.org/posts/522077.
Ballard, P.J., Cohen, A. K., and Littenberg-Tobias, J. “Action civics for promoting civic development: main effects of
program participation and differences by project characteristics,” Am J Community Psychol. 2016, 58:
377–390. DOI 10.1002/ajcp.12103.
Bengtsson, A. “Educating European citizenship: Elucidating assumptions about Teaching civic competence,”
Policy Futures in Education. 2015, 13(6) 788–800. DOI: 10.1177/1478210315595785.
Bentler, P. M. and Chou, C. “Practical issues in structural modeling,”. Sociological Methods and Research.
1987, 16 : 78-117.
Blair, T. “New Community, New Individualism,” Speech given to the Charities’ Aid Foundation 10th Arnold
Goodman Charity Lecture, London, 8 July 1993, New Britain: My Vision of a Young Country, London:
Fourth Estate 1996: 14–79.
Davies, I. “Citizenship education in Europe,” Children's Social and Economics Education, 1998 3 (3) : 127-140.
Galston, W. A. “Political Knowledge, Political Engagement, and Civic Education,” Annual Review of Political
Science, vol. 4, 2001, pp. 217-34; available at www.civicmissionofschools.org; and fact
sheets developed by CIRCLE, available at www.civicyouth.org.

Giorgio Di Pietro, G. D., Delprato, M. “Education and Civic Outcomes in Italy,” Public Finance Review,
2009 37(4) : 421-446.
Isac, M.M., Maslowski, R. and Werf, G.V. “Effective civic education: an educational effectiveness model for
explaining students' civic knowledge,” School Effectiveness and School Improvement,
2011 (22)3, 313-333, DOI: 10.1080/09243453.2011.571542.
Kerr,D. “Citizenship Education in England: The Making of a New Subject,” Journal for Social Science Education,
2003, 2 (2) : 1–10.
Koutselini, M. and Papanastasiou, C. “Civic Education in Cyprus -Issues in Focus: A Curriculum Research Study,”
Children's Social and Economics Education; 1997 2 (3), 113-129.
Lenzi, M. and others. “How school can teach civic engagement besides civic education: the role of democratic
school climate,” Am J Community Psychol, 2014 54 (6) : 251–261. DOI 10.1007/s10464-014-9669-8.
Marker, G., and Mehlinger, H. Social studies. In P. W. Jackson (Ed.). Handbook of research on curriculum.
New York: Macmillan, 1992.
Murphy, J. B. “Against civic education in public schools,” International Journal of Public Administration. 2007,
30: 6-7, 651-670, DOI: 10.1080/01900690701216019.
Sears, A. M. and Hughes, A. S. “Citizenship education and current educational reform,” Canadian Journal of
Education; 1996, 21 (2) : 123–142.
Youniss, J. “Civic Education: What Schools Can Do to Encourage Civic Identity and Action,” Applied
Developmental Science; 2011 15 (2), 98-103, DOI: 10.1080/10888691.2011.560814.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05