ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดมุกดาหารเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ผู้แต่ง

  • พรพิมล โตสัจจะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วิตติกา ทางชั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ชมพูนุท โมราชาติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว, เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดมุกดาหารเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหารจำนวน 60 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการระดับจังหวัดที่มีบทบาทส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและแบบประเมินยุทธศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยทำให้ได้ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดมุกดาหารเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และกลยุทธ์ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงอาเซียน กลยุทธ์ที่ใช้ได้แก่ พัฒนาสิทธิประโยชน์ ให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวตามเส้นทางบนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกและอาเซียนมายังจังหวัดมุกดาหาร 2) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ใช้ได้แก่ สร้างความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของยุทธศาสตร์และประชาสัมพันธ์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในลักษณะของเครือข่าย 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ใช้ได้แก่ ส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชน ส่งเสริมการบริหารจัดการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ สร้างพันธมิตรและเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพบุคลากร 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและองค์ประกอบการท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ใช้ได้แก่ พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีมาตรฐาน ป้องกันผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายและดึงดูดใจมากขึ้น และ 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจบริการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์ที่ใช้ได้แก่ ส่งเสริมและพัฒนาการบริการสู่มาตรฐานสากล พัฒนาของที่ระลึกและศูนย์จัดจำหน่ายให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการนำยุทธศาสตร์ไปทดลองใช้ พบว่า หลังการเข้ารับการอบรมระดับความรู้ของผู้เข้าร่วมมีระดับคะแนนสูงกว่าก่อนการเข้ารับการอบรม (ค่าเฉลี่ย 17.20 ; 9.50 จาก 20.00 ) ผู้อบรมมีความพึงพอใจในการอบรมระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.61) และผลการประเมินยุทธศาสตร์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ยุทธศาสตร์มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2555.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและกีฬา. (ออนไลน์) 2555 (อ้างเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2558) จาก http://www.mots.go.th/more_news.php?cid=66&filename=index
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวพฤษภาคม 2559. (ออนไลน์) 2559. (อ้างเมื่อ 1
กันยายน 2559) จาก http://newdot2.samartmultimedia.com/home/details/11/222/26061.
ฉลอง พัฒโน. การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบบูรณาการในเทศบาลเมือง
คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555.
เฉลิมชัย คำแสน. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวตามแนวระเบียงเศรษฐกิจสิบสองปันนา
สาธารณรัฐประชาชนจีนกับจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงราย, 2556.
ชม รุจิชยากูร. ศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.
พิมพ์ชนก สังข์แก้วและคนอื่นๆ. ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2558.
ภูมิชัย มั่งเรืองสกุล. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์
รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2555.
รัชนีวรรณ บุญอนนท์. การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2555.
วรวรรธ ทรายใจ. การพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับจังหวัดของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2558.
วิตติกา ทางชั้น. การพัฒนาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานริมชายแดนโขงสู่ความยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.
สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. โครงการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร, 2560.
สมศักดิ์ มกรมณเฑียร. การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 2557.
สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2560)
จาก http://www.mukdahan.go.th/mukdahan.php
เสาร์วนี ผ่องใส. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลเกาะ
สีชัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.
อธิษฐาน ใชยเรือง. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามเส้นทางแอ่งอารยธรรมขอม ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2559.
Amir, Ahmad Fitri and others. “Sustainable tourism development: A study on community esilience for rural tourism in Malaysia” Procedia - Social and Behavioral Sciences. 168, (2015): 116-122.
Salazar, Noel B. “Community-based cultural tourism: issues, threats and opportunities” Journal of Sustainable Tourism. 16, (2008): 9-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-08