การพัฒนารูปแบบการเรียนเพื่องานโครงการพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรม

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ วงศ์อนันต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

โครงการพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรม, รูปแบบการเรียนเพื่องานโครงการพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรม, นักศึกษาระดับปริญญาตรีโปรแกรมวิชาสถาปัตยกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนเพื่องานโครงการพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรม และเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้น วิธีการดำเนินการวิจัยได้ออกแบบเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียน และประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 ท่านและขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจทางการเรียน ด้วยการทดลองใช้รูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้น โดยทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีโปรแกรมวิชาสถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 12 คน เรียนด้วยรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการเรียน “APBL MODEL” ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในระดับ “มากที่สุด” ทั้งในรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนและการจัดกิจกรรมการเรียน ผลคะแนนการเรียนตามรูปแบบการเรียนพบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและผู้เรียนประเมินระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้นในระดับ “มากที่สุด”

References

ประกายฉัตร ขวัญแก้ว* พัชรา วาณิชวศิน สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน Project-Based Learning (PjBL) ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำ หรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการเลขานุการ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2559.
ประทานพร อุ่นออ. (การจัดการเรียนการสอน โดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชาการเขียนโปรแกรม GUI สาหรับนักเรียนระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (รายงานวิจัย). วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ): สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา,2556.
ลัดดา ภู่เกียรติ. การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานงานที่ครูประถมทำได้ . กรุงเทพฯ: สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง,2552.
วิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. รายงานประจำปี 2557 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม .หน่วยงานเอกสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ,2557)
วัฒนา มัคคสมัน. การสอนแบบโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551.
อนิรุจน์ สติมั่น. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.
Brown, A “Metacognition, executive control, self-regulation, and other more mysterious mechanisms.” In F. E. Weinert.; & R. H. Kluwe (Eds.). Metacognition, motivation and understanding. Hillsdale, N. J.: Lawrence Erlbuam, 1987.
Katz, L.G. Self-Esteem and Narcissism: Implicate for Practice. Urbana Illinois: Eric,1993.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-08