การพัฒนาระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ

ผู้แต่ง

  • ปริญญ์ งามสุทธิ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ระบบบริหารจัดการ, การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร, มหาวิทยาลัยของรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ 3) ศึกษาความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยดำเนินการออกแบบระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ประเมินความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และทดลองใช้ระบบกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา 1 ภาคการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ ควรจัดทำคู่มือสำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการดำเนินการที่ชัดเจน และจัดทำแบบประเมินที่เกี่ยวข้อง ระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบไปด้วย ระบบหลัก 1 ระบบ และระบบย่อย 22 ระบบ ผลการประเมินความเหมาะสมของระบบบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

ชัยรัตน์ ต.เจริญ และคณะ. (2560). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเชียงราย.” วารสาร Veridien E-Journal ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน): 432-440.
เทื้อน ทองแก้ว.(2558). การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการตามแนวคิดการบริหารจัดการชั้นสูงและระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์แบบสำหรับสถาบันอุดมศึกษารัฐ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไมตรี บุญทศ.(2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพโรงเรียน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วศิน อิงคพัฒนากุล และคณะ. (2556). “พัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.” วารสาร Veridien E-Journal ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม): 848-863.
ศรีฐาน สุขะวงศ์.(2554). การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช.(2543). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันทา แก้วสุข.(2553). รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินในระดับดี : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
อรสา ภาววิมล.(2552). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทยตามแนวคิดการจัดการความรู้ . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hoffer, J. A., J. F. George and J. S. Valacich.(1996). Modern Systems Analysis and Design. Menlo Park, CA : The Benjamin/Cummings Publishing. 18(4): 860-879

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-11