ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • อาคม ทีสุกะ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่นของประชาชน, การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ, สถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร (2) ศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร (4) ศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ผลการวิจัย พบว่า      (1) ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนครโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ลักษณะที่พักอาศัย โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร จำแนกปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และ .05 ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน และลักษณะที่พักอาศัย (4) ผลจากการสัมภาษณ์ ปรากฏว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร มีการเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติ เน้นการบริการประชาชน ดังคำขวัญ “บริการดุจญาติ พิทักษ์ราษฎร์ดุจครอบครัว”

References

กัณณวัน ฟิลลิปส์. (2560). โครงการประเมินประสิทธิภาพสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์.

กุลชญา ภาหินโคกสูง. (2559). ความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้ใช้ถนนเพื่อการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย : การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิตติกร สิงหพันธ์. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของสถานีตำรวจภูธรคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต. (2559). โครงการประเมินผลการปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประพนธ์ สหพัฒนา และคณะ. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินประสิทธิภาพสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : กองวิจัยสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2557.

. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินประสิทธิภาพสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : กองวิจัยสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2558.

รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินประสิทธิภาพสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : กองวิจัยสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2559.

มานพ เนียรภาค. (2556). ประสิทธิภาพในการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลลิต กิจสมัคร. (2559). การจัดการความปลอดภัยทางถนนกับความร่วมมือของประชาชน ศึกษากรณีในเขตตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นครปฐม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สุมิตร สุวรรณ และคณะ. (2557). ความเชื่อมั่นของผู้เสียหายที่มีต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน ประจำปีบัญชี 2557. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวัตถิ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ตามโครงการ โรงพักเพื่อประชาชนของสถานีตำรวจภูธร บางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นนทบุรี : มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20