ประวัติความเป็นมาชุดเครื่องแต่งกายที่ใช้ในขบวนแห่เนื่องในงานประเพณีพิธีกรรมกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ณัฐปกรณ์ อภิมติรัตน์ คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ซิสิกกา วรรณจันทร์ คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

เครื่องแต่งกาย, ขบวนแห่, ประเพณี, พิธีกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาชุดเครื่องแต่งกายที่ใช้ในขบวนแห่เนื่องในงานประเพณี พิธีกรรม ของกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ประกอบไปด้วย ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ทั้ง 4 จังหวัดนี้มีประเพณีอันเป็นประเพณีประจังหวัดและมีชื่อเสียงโดยแต่ละประเพณีแต่ละจังหวัดได้จัดขึ้นนั้นล้วนประกอบไปด้วยขบวนแห่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรในแต่ละพื้นที่ มิเพียงทราบถึงประวัติตวามเป็นมาของขบวนแห่เพียงอย่างเดียวแต่ยังทราบถึงประวัติตวามเป็นมาของชุดเครื่องแจ่งกายที่ร่วมในขบวนแห่ ซึ่งในแต่ละจังหวัดนั้นได้มีบุญประเพณีประจำหวัดและในแต่แต่ละประเพณีนั้นได้มีริ้วขบวนแห่เป็นส่วนประกอบ โดยที่ผู้ร่วมขบวนนั้นได้สวมใส่เสื้อผ้าอันเป็นเอกลักษณ์แต่ละท้องที่ ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงวิถีชีวิตรวมไปถึงอาชีพและความเป็นอยู่ของชาวอีสานในแต่ละจังหวัด โดยการแต่งกายนั้นจะเป็นตัวที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆล้วนแต่มีประวัติความเป็นซึ่งสอดคล้องต่อประเพณี พิธีกรรม ในทุกขบวนแห่

References

กีรติ บุญเจือ. (2522). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกการท่องเที่ยว. สารานุกรมปรัชญา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

กรมศิลปากร. (2514). การออกแบบเครื่องแต่งกายตามประเพณีตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ยศ สันตสมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฑิตฐิตา นาคเกษม. (2550). ไทยศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พวงผกา คุโรวาท. (2535). คู่มือประวัติเครื่องแต่งกาย. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพมหานคร : บริษัทรวมสาส์น.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2547). หอแสดงผ้าไทยพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติ : สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย.

นัดรบ มุลาลี. (2546). เบิ่งอีสาน. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์, 2546.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2542). ผ้าไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นฤมล ปราชญ์โยธิน. (2525). ประวัติเครื่องแต่งกาย. เข้าถึงจาก http://www.baanjomyut.com. (25 กรกฎาคม 2559).

สำลี รักสุทธี. (2544). ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ประเพณีของดีอีสาน. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : แอ๊ปป้าพริ้นท์ติ้ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-18