ปัจจัยทางจิตและลักษณะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ ประเสริฐหล้า โรงเรียนวัดธาตุทอง
  • อังศินันท์ อินทรกำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเตรียมความพร้อม, สถาบันอุดมศึกษา, การศึกษาต่อ, ปัจจัยทางจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสถานการณ์และจิตลักษณะเดิม ที่เกี่ยวข้องกับ

พฤติกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาอำนาจในการ

ทำนายพฤติกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งด้านรวมและด้านย่อยด้วยตัวแปรในกลุ่มปัจจัยด้าน

ลักษณะสถานการณ์จิตลักษณะเดิมและจิตลักษณะ ตามสถานการณ์ กลุ่มประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนัก

การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 836 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 300 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดประเภทมาตรประเมิน

รวมค่า 6 ระดับ จำนวน 9 แบบวัด มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง .804 ถึง .910 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ

พรรณนา การวเิ คราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และการวิเคราะหถ์ ดถอยพหคุ ณู แบบมลี ำดบั ผลการวิจยั พบว่า 1) พบปฏสิ มั พันธ์

ระหว่างลักษณะมุ่งอนาคต – ควบคุมตน และความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อใน

สถาบันอุดมศึกษา ด้านรวม ด้านสภาพทางจิต และด้านการเตรียมตัวสอบและพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการเรียน และ

ความสามารถในการจัดการความเครียดมีต่อพฤติกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อ ในสถาบันอุดมศึกษาด้านสภาพทางจิตและ

ด้านการเตรียมตัวสอบ 2) กลุ่มตัวแปรลักษณะสถานการณ์ จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ร่วมกันทำนายพฤติกรรม

เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อ ในสถาบันอุดมศึกษาด้านรวมได้ระหว่างร้อยละ 45.1 ถึง ร้อยละ 66.1 ในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม

โดยมีตัวทำนายที่สำคัญ คือ การได้รับแนะแนวศึกษาต่อ สภาพแวดล้อมทางการเรียน ลักษณะมุ่งอนาคต – ควบคุมตน ความคาดหวังของ

ผู้ปกครอง เจตคติที่ดีต่อการศึกษาต่อสรุปได้ว่านักเรียนทีมีเหตุผลในการเลือกศึกษาต่อเพราะความมั่นคงในอาชีพ มีพฤติกรรมเตรียม

ความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในด้านรวมและด้านย่อย ส่วนปัจจัยเชิงเหตุที่สำคัญด้านจิตลักษณะของพฤติกรรม

เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมคือ ลักษณะมุ่งอนาคต – ควบคุมตน และเจตคติที่ดี

ต่อการศึกษา และปัจจัยเชิงเหตุที่สำคัญด้านสถานการณ์ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม คือความคาดหวังของผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมทางการ

เรียน การได้รับแนะแนวศึกษาต่อ

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย