คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง
** ในการส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ : https://drive.google.com/file/d/1HZFbFlGj0r-TB5dm76BR3fQ38Skvl-ON/view?usp=sharing
คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง
วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีกำหนดในการตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม ในการคัดสรรบทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารฯ กองบรรณาธิการยินดีรับบทความวิจัยและบทความวิชาการจากท่าน ทั้งนี้กองบรรณาธิการขอพิจารณาเรื่องที่จะลงตีพิมพ์และเพื่อความสะดวกในการพิจารณา จึงขอแนะนำการเขียนในการเตรียมพิมพ์ต้นฉบับ ดังนี้
ประเภทของเรื่องที่จะลงตีพิมพ์
1) บทความวิจัย (Research articles or Original article) เป็นบทความที่ผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นจากงานวิจัยของตนเองโดยเน้นบทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับวิชาชีพพยาบาล
2) บทความวิชาการ (Academic article) เป็นบทความที่ผู้เขียนมุ่งนำเสนอเนื้อหาสาระเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ได้จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แล้วนำมากลั่นกรองเรียบเรียงขึ้นโดยผู้เขียน
เงื่อนไขในการส่งผลงานเพื่อลงตีพิมพ์
1) เป็นผลงานที่ไม่เคยลงตีพิมพ์ หรือกำลังรอตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ
2) บทความทุกเรื่องต้องผ่านการพิจารณาหรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบเนื้อหา
(Peer review) อย่างน้อย 2 ท่าน ซึ่งการพิจารณานั้นจะเป็นแบบ double blinded ถ้าได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขกองบรรณาธิการจะส่งบทความที่ได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมไปยังผู้นิพนธ์ ซึ่งผู้นิพนธ์จะต้องส่งบทความที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้กองบรรณาธิการจะตอบรับการตีพิมพ์ก็ต่อเมื่อบทความได้รับการแก้ไขจนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน (ทั้งนี้ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของบทความนั้น ๆ)
3) สำหรับบทความภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของภาษาตามหลักไวยากรณ์จากสถาบันภาษา พร้อมแนบเอกสารรับรองการตรวจสอบ
4) บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดคำแนะนำในการตีพิมพ์ต้นฉบับเท่านั้น และหากเป็นผลงานวิจัยที่ทำการศึกษาวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์จะต้องได้รับการขอจริยธรรมการวิจัยตามหลักการที่ถูกต้อง พร้อมทั้งแนบหนังสือรับรองการผ่านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน
บทความภาษาไทย
5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
บทความภาษาอังกฤษ
8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน)
ในการส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ ผู้นิพนธ์จะได้รับการแจ้งรายละเอียดการชำระเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน โดยส่ง e-mail ผ่านเว็บไซต์ Thaijo2 ในบทความที่ท่าน submission มา ซึ่งผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการชำระเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานก่อน ที่วารสารฯ จะนำบทความของท่านเสนอผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและดำเนินการในขั้นตอนถัดไป ทั้งนี้หากบทความของท่านไม่ผ่านการพิจารณา ทางวารสาร ฯ จะดำเนินการคืนเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน จำนวน 2,000 บาท (หลังหักค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและค่าดำเนินการ)
การโอนเงินค่าตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสาร ฯ ขอให้ผู้นิพนธ์โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาอุตรดิตถ์ ชื่อบัญชี วารสาร วทบ อุตรดิตถ์ โดยสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ หมายเลขบัญชี 510-3-13278-8
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ
1) การพิมพ์ พิมพ์ด้วยตัวอักษร Thai SarabunPSK ขนาด 16 แบบ 1 คอลัมน์ พิมพ์หน้าเดียว โดยใช้กระดาษ A4 พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษ 2.5 ซม.
2) ชื่อเรื่อง พิมพ์ไว้กลางหน้าแรก ขนาดตัวอักษร 18 โดยมีภาษากำกับไว้ ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษพิมพ์ตัวใหญ่ในอักษรตัวแรกของทุกคำ ยกเว้น article
3) ชื่อผู้นิพนธ์ พิมพ์ชื่อผู้นิพนธ์ภาษาไทย (ภาษาอังกฤษ) วราภรณ์ ยศทวี (Waraporn Yottavee) 1 ขนาดตัวอักษร 14 pt. ชิดขอบกระดาษด้านขวา ให้ระบุตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียนเพื่อแสดงรายละเอียดสถานที่ทำงานของผู้นิพนธ์ทุกท่านไว้เป็นเชิงอรรถในหน้าแรก ขนาดตัวอักษร 12 pt.
4) บทคัดย่อ บทคัดย่อมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนไม่ควรเกิน 300 คำ พร้อมทั้งระบุคำสำคัญ / Keywords จำนวน 3-5 คำ บทคัดย่อให้เขียนเป็นความเรียงตามลำดับ ได้แก่ รูปแบบการวิจัย วัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)
5) เนื้อหา
5.1 ส่วนประกอบของเนื้อหา
บทความวิจัย
ประกอบด้วย 1) บทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 3) วัตถุประสงค์การวิจัย 4) สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) 5) คำถามการวิจัย (ถ้ามี) 6) กรอบแนวคิดการวิจัย 7) ระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ ประเภทการวิจัย แบบแผนการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง (ให้ระบุหมายเลขเอกสารการผ่านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาด้วย) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 8) ผลการวิจัย 9) อภิปรายผล 10) ข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี)
11) ข้อเสนอแนะ (ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้, ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป) 12) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) 13) references
บทความวิชาการ
ประกอบด้วย 1) บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) บทนำ (Introduction) 3) เนื้อเรื่อง (แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ) 4) บทสรุป 5) ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ 6) references
5.2 รูปแบบการพิมพ์
- หัวข้อ หัวข้อใหญ่ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจากแนวหัวข้อใหญ่ 7 ตัวอักษร ให้เว้นระยะเมื่อพิมพ์หัวข้อใหญ่อีก
- ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น single space
- ตัวเลขใช้เลขอารบิค
- การเขียนบทความภาษาไทยให้ยึดหลักของราชบัณฑิตยสถาน หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษ ยกเว้นกรณีจำเป็น ใช้คำย่อที่เป็นสากล และใช้คำย่อในการอ้างอิงครั้งแรกให้ใช้ชื่อเต็ม และวงเล็บด้วยชื่อย่อ
- ชื่อตาราง แผนภูมิ รูปภาพ ให้ใส่ชื่อตารางหรือคำอธิบายเหนือตาราง โดยตัวอักษรขนาด 14 pt.
5.3 การเขียนเอกสารอ้างอิง (References)
แนวการเขียนเอกสารอ้างอิงใช้ตามที่วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพกำหนด ดังนี้
การอ้างอิงในเนื้อหา
การอ้างอิงใช้ระบบนาม ปี ให้เขียนชื่อสกุลเท่านั้น ส่วนที่เป็นภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ กรณีที่ผู้แต่งไม่เกิน 6 คน ให้เขียนชื่อผู้แต่งทุกคนในการอ้างถึงครั้งแรก ถ้ามีการอ้างอิงครั้งต่อไปให้ใช้ et al. ต่อท้ายผู้แต่งคนแรก กรณีที่ผู้แต่งมากกว่า 6 คนขึ้นไป ให้เขียนนามสกุลผู้แต่งคนแรก ตามด้วย et al. ในการอ้างอิงทุกครั้ง
ตัวอย่าง (Example)
........... การเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น (Yottavee, Kusol, Aehwarang & Junlapuya, 2010)
............... มีทัศนคติเชิงบวกต่อการสูบบุหรี่ (Yottavee et al., 2013)
การศึกษา Drucker and Kugan (2009) ……………………………………………………..…
การศึกษา Drucker & Kugan (2009) ……………………………………………………..…
การศึกษาของ วราภรณ์ ยศทวี พบว่า ..................................... (Yottavee, 2019)
การศึกษาของ วราภรณ์ ยศทวี (Yottavee, 2019) พบว่า .....................................
การอ้างอิงท้ายฉบับ
1. การอ้างอิงใช้ระบบนาม ปี จัดเรียงรายชื่อเอกสารตามลำดับอักษรชื่อสกุลผู้แต่ง โดยการอ้างอิงนั้นขอให้ระบุเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนที่เป็นภาษาไทยขอให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และเมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ในเอกสารอ้างอิงท้ายฉบับนั้นขอให้ท่านใส่ (in Thai) ไว้ด้านท้ายเอกสารอ้างอิงที่แปล
2. เลือกเฉพาะที่ได้อ้างอิงในเนื้อเรื่องเท่านั้น
ตัวอย่างการอ้างอิงจากแหล่งต่าง ๆ
- อ้างอิงจากบทความในวารสาร
รูปแบบ (Format)
Author. (year). Title. Journal, Vol.(No), page.
ตัวอย่าง (Example)
Jantavat, P. (2020). Preparation of nursing student for stress relief during
practice in delivery room. Kuakarun Journal of Nursing, 25(1), 184-191. (in Thai).
- อ้างอิงจากหนังสือ
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Title. Place: Publisher
ตัวอย่าง (Example)
Gagne, R. M. (1985). The conditions of learning and theory of instruction. New York:
CBS College Publishing.
- อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Title of dissertation. (master’s/phd thesis). Name of
Institution.
ตัวอย่าง (Example)
Thammathikul, A. (2015). The development an elderly empowerment model to
develop community. (Phd’s thesis). Silpakorn University. (in Thai).
- อ้างอิงจากเว็บไซต์
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Title. Retrived (Year, Month date). from.
ตัวอย่าง (Example)
The Hasso Plattner School of Design Thinking at university of cape town. (2021). What is design thinking. Retrived (2022, November 16).
from http://www.dschool.uct.ac.za/what-design-thinking
6) ความยาวของบทความ ทั้งบทความวิจัย และบทความวิชาการ เมื่อรวมเอกสารอ้างอิงแล้วมีความยาวไม่ควรเกิน 25 หน้า
7) รูปแบบของบทความ จัดพิมพ์บทความด้วยโปรแกรม Microsoft Word พร้อมทั้งบันทึกบทความด้วยนามสกุล .doc และ .pdf
กรุณาส่งต้นฉบับถึง
กองบรรณาธิการวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ E-mail: journal@unc.ac.th และ ส่งต้นฉบับผ่านระบบออนไลน์ Submission ในระบบ ThaiJo ศึกษาเพิ่มเติมจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/unc/thaijo