แนวทางการดำเนินการกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชนที่มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษากลุ่มสวัสดิการร้านค้าชุมชนบ้านทุ่งสีหลง ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ศานติกร พินยงค์
สุธิดา สองสีดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (mixed methods) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ด้วยแบบสอบถาม (questionnaires) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มย่อย (focus group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (indept - interview) ซึ่งในการนำเสนอบทความวิชาการครั้งนี้เป็นการนำเสนอในส่วนของการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการณ์ของชุมชนระหว่างก่อนและหลังการดำเนินการกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน และแนวทางการดำเนินการกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชนที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แกนนำในท้องถิ่นท้องที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกเทศบาล/ อบต. ตัวแทนแกนนำและสมาชิกกลุ่มสวัสดิการชุมชน ตัวแทนปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการในชุมชน


กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกแบบเจาะจงประกอบไปด้วย แกนนำในชุมชนตำบลลำเหย ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน จำนวน 5 คน ที่เคยเป็นกรรมการบริหารร้านค้าสวัสดิการชุมชน ตัวแทนปราชญ์ชาวบ้าน โดยคัดเลือกจากผู้อาวุโสที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสภาพการณ์ของชุมชนบ้านทุ่งสีหลงตำบลลำเหย จำนวน 5 คน เหตุผลที่ได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการวิจัย เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับร้านค้าสวัสดิการชุมชน บ้านทุ่งสีหลง หมู่ที่ 13 ตำบลลำเหย


ผลการศึกษาพบว่า บ้านทุ่งสีหลง หมู่ที่ 13 ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมในอดีตมีสภาพความเป็นอยู่แบบสังคมชนบท ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง การคมนาคมไม่สะดวก ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้ามีไม่เพียงพอ การเดินทางไปซื้อสิ้นค้าต้องเดินทางเข้าไปในตัวเมืองส่วนสินค้าที่มีคนเอาขายอยู่ในชุมชนก็มีราคาแพงกว่าปกติทั่วไป แต่ภายหลังจากมีการจัดตั้งร้านค้าสวัสดิการชุมชนขึ้น ก็ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องเดินทางไปซื้อสิ้นค้าที่ตัวเมืองอีก ราคาก็ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารร้านค้าสวัสดิการชุมชนของตนเอง โดยการเปิดขายหุ้นให้กับชาวบ้าน และยังมีการนำผลกำไรที่ได้จากการค้ามาปันผลให้สมาชิกผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรม ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกผู้ถือหุ้นแต่มาซื้อสินค้าที่ร้านค้าสวัสดิการชุมชนเป็นประจำก็จะมีการบันทึกยอดซื้อและจะมีการคืนกำไรให้คนที่มาซื้อด้วย ใครซื้อมากได้มากใครซื้อน้อยก็ได้น้อย และยังมีการแบ่งรายได้อีกส่วนไว้ใช้ในการจัดสวัสดิการด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนพร บัวรอด และคณะ. (2561). ผู้นำกับการขับเคลื่อนท้องถิ่นในกระแสโลกาภิวัตน์. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24(พิเศษ), 10-19.

นิชภา โมราถบ และคณะ. (2561). การติดตามและประเมินผลอย่างกัลยาณมิตรในการจัดสวัสดิการสังคมแบบมีส่วนร่วมของภาครัฐ : กรณีศึกษาตำบลสันทรายงาม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย,ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

ประสิทธิ์ วิชัย และภัทรธิรา ผลงาม. (2559). การวิจัยและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชน กรณีศึกษาในชุมชนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 103 - 127.

พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2556). ต้นแบบการจัดสวัสดิการชุมชนของกองบุญสัจจะสวัสดิการชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัชราวดี ตรีชัย. (2552). การวิเคราะห์ความเป็นชุมชนเข้มแข็งของหมู่บ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, วารสารราชพฤกษ์, 27(1), 125-193.

ไพบูลย์ พุนธุวงศ์ และคณะ. (2559). ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 190-202.

ฤทัยรัตน์ รัตนสร้อย. (2553). พลวัตทุนทางสังคมกับความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศานติกร พินยงค์. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง “แนวทางการดำเนินการกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชนที่มีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษากลุ่มสวัสดิการร้านค้าชุมชนบ้านทุ่งสีหลง ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม”. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุวัฒน์ คงแป้น. (2550). สวัสดิการชุมชน "คนไม่ทิ้งกัน" : การพัฒนาระบบสวัสดิการชาวบ้านโดยองค์กรชุมชนเป็นแกนหลักและหน่วยงานภาคีต่างๆ เป็นผู้สนับสนุน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน).

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2556). การพัฒนาสังคมเชิงบูรณาการโดยใช้กองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นศูนย์กลาง.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.m-society.go.th/artical_attach/12781/17039.pdf (12 มิถุนายน 2561)

สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2557). การถอดบทเรียนการดำเนินงานกองทุน สวัสดิการชุมชนที่ประสบผลสำเร็จกรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น และกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลตลาดเทศบาลเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม, มหาสารคาม : สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

อาทิตย์ บุดดาดวง. (2554). ความสามารถในการนําทุนทางสังคมออกมาใช้ของชุมชนบ้านบางไพร อําเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.