การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นผ้าถักโครเชต์หนองนาว ด้วยกลไกลการมีส่วนร่วม

Main Article Content

กาญจนา รัตนธีรวิเชียร
ฐานันดร์ โต๊ะถม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นผ้าถักโครเชต์ ด้วยกลไกลการมีส่วนร่วม ได้ทำการหาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ผ้าถักโครเชต์ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีมูลค่าเพิ่ม ออกแบบผลิตภัณฑ์โดยนำเอาอัตลักษณ์ของงานฉลุตามแบบล้านนามาสร้างสรรค์ลวดลาย ผสมผสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองลูกค้าทั้งด้านขนาด รูปทรง ลวดลายให้เหมาะสมกับการใช้งาน และความต้องการของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ เสื้อ ผ้าคลุม และโคมไฟ สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ตามตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มวางไว้ คือ ถุงกระดาษสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์  บรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นของฝาก มีการนำอัตลักษณ์ของผ้าถักโครเชต์ และความเป็นแจ้ห่มมาออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคได้นึกถึงผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน รวมถึงการสื่อสารตราสินค้าของกลุ่มในบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างการจดจำให้กับลูกค้า และทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจากการสร้างร้านค้าออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าผ่านระบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ตลอดเวลาส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น สามารถแข่งขันในตลาด เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น


The research study about increasing local crochet product potential by means of participation mechanism was to find the approach to increase crochet product potential by developing new product to obtain additional values. Moreover, it was to design new product by adapting Lanna perforation specialty to create patterns integrated to be satisfied customer products in sizes, shapes and patterns to be matched with usage and customers’ requirements such as blouse, ponchos and lampshades as new products.Besides, package creation according to product positioning planned by the Crochet Group were paper bags for containing products as souvenirs. To create packages, it was to deliver the crochet and Tambol Jaehom’s specialty to be applied in designing packaging in order that consumers were clearly thought of the local products. This included brand communication of the Group from the packages to develop brand recognition to customers. Furthermore, additional purchasing channels from online store for selling product through e-marketing system facilitated customers to purchase all the time resulting in sales increase.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ อิชยานันท์.(2556) . อิทธิพลส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ. 30-41.

คนธาภรณ์ เมียร์แมร์. (2556) . การวิจัยพัฒนารูปแบบและคุณค่าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง โดยการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและฟื้นฟูเอกลักษณ์ในการออกแบบ. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่, 5(5) ,27-40.

สุรัชดา เชิดบุญเมือง จิรวุฒิ หลอมประโคน และวิสุทธ์ กล้าหาญ (2557). ปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5(ฉบับพิเศษ), 76-91.

อังกาบ บุญสูง (2559). การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11(2), 404-418.