การพัฒนาโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดหยาบชะเอมไทยและพิลังกาสา

Main Article Content

ณพัฐอร ณพัฐอร บัวฉุน
เยาวนารถ งามนนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบชะเอมไทยและพิลังกาสา โดยนำรากชะเอมไทยและผลพิลังกาสามาสกัดด้วยเอทานอล ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดระหว่างสารสกัดหยาบชะเอมไทยและพิลังกาสาที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และนำสารสกัดหยาบชะเอมไทยและพิลังกาสาที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์โลชั่น ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดหยาบชะเอมไทยและสารสกัดหยาบพิลังกาสามีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 55.20 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง และ 52.81 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ปริมาณแทนนินทั้งหมดเท่ากับ 35.20 ไมโครกรัม ต่อมิลลิลิตร และ 17.80 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดหยาบชะเอมไทยและพิลังกาสาพบสารประกอบกลุ่มสารหลักคือ สารฟลาโวนอยด์ แต่ตรวจไม่พบกลุ่มสารสเตอรอยด์-เทอร์ปีนส์ และ สารอัลคาลอยด์ สารสกัดหยาบชะเอมไทยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 12.02 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร, ในขณะที่ BHA และ BHT มีค่า IC50 เท่ากับ  12.54 และ 12.86 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดหยาบผลพิลังกาสามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 12.94 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร, BHA และ BHT มีค่า IC50 เท่ากับ 12.54 และ 12.86 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ อัตราส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด คือ อัตราส่วนที่ 1 มีค่า IC50 เท่ากับ 13.09 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดหยาบชะเอมไทยและพิลังกาสา พบว่า โลชั่นมีเนื้อเป็นสีขาว ลักษณะทางกายภาพคงตัวที่ดี ไม่มีกลิ่น และค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7.6

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากพิลังกาสา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 3. นครศรีธรรมราช (45-50).
ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากชะเอมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 78-95.
พิชยา ประเสริฐแสง และ วรินทร ชวศิริ. (2545). องค์ประกอบทางเคมีของผลพิลังกาสา (Ardisia colorata Roxb.) และฤทธิ์ทางชีวภาพ. ปริญญานิพนธ์วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (เคมี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนสิชา ขวัญเอกพันธ์ และคณะ. (2555). ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากส่วนเถาชะเอมไทย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใหม่.
สุธาทิพย์ อินทรกำธรชัย และคณะ. (2555). การพัฒนาครีมชะลอวัยผสมสารสกัดดอกมะลิลา.เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
Chattopadhyay, K. and Chattopadhyay, B. D. (2008). Effect of nicotine on lipid profile, peroxidation & antioxidant enzymes in female rats with restricted dietary protein. Journal of research and education in Indian medicine. 127, 571-576.
Halliwell, B. (2009). The wanderings of a free radical, Free Radical Biology and Medicine, American Journal of Medicine. 46, 531-542.
Halliwell, B. (1991). Reactive Oxygen Species in Living Systems : Source, Biochemistry and Role in Hormone Disease. American Journal of Medicine. 91, 14 – 22.
Joshi R, Passner JM, Rohs R, Jain R, Sosinsky A, Crickmore MA, Jacob V, Aggarwal AK, Honig B, Mann RS. (2007). Functional specificity of a Hox protein mediated by the recognition of minor groove structure. Cell. 131. 530–543.
Nakabeppu, Y. et al. (2006). Mutagenesis and carcinogenesis caused by the oxidation of nucleic acids, Journal of Biological Chemistry, vol. 387, pp. 373-382.
Yokota, T., Nishio, H., Kubota, Y. & Mizoguchi, M. (1998). The inhibitory effect of glabridin from licorice extracts on melanogenesis and inflammation. Pigment Cell Res.11. 355-361.