ระบบบ้านอัตโนมัติต้นทุนต่ำโดยใช้แอนดรอยด์ ราสเบอรีพาย และอาดูโน่ ส่งข้อมูลโดยใช้การเขียนโปรแกรมแบบซ็อกเก็ตและเอฟซีเอ็ม กรณีศึกษา ระบบดูแลสัตว์เลี้ยงผ่านอินเทอร์เน็ต

Main Article Content

เชี่ยวชาญ ยางศิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบ้านอัตโนมัติต้นทุนต่ำโดยใช้แอนดรอยด์ ราสเบอรีพาย และอาดูโน่ ส่งข้อมูลโดยใช้การเขียนโปรแกรมแบบซ็อกเก็ตและเอฟซีเอ็ม กรณีศึกษา ระบบดูแลสัตว์เลี้ยงผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบสามารถสื่อสารได้สองทิศทาง ได้แก่ สามารถแจ้งเตือนไปยังแอนดรอยด์แอปพลิเคชันผ่านอินเทอร์เน็ตเมื่อน้ำดื่มหรืออาหารสัตว์เลี้ยงหมด และผู้ใช้สามารถใช้แอนดรอยด์แอปพลิเคชันในการสั่งเปิดน้ำ ให้อาหาร และสอดส่องดูแลสัตว์เลี้ยงผ่านอินเทอร์เน็ตเช่นเดียวกัน การสอดส่องดูแลสามารถดูได้ทั้งแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวและสามารถสั่งหมุนกล้องไปองศาที่ต้องการได้ ระบบดังกล่าวใช้หลักการของระบบฝังตัว  ซึ่งประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์ ดังนี้ 1) ราสเบอรีพาย ทำหน้าที่เป็นคอนโทรลเลอร์ 2) กล้อง สำหรับถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว 3) บอร์ดอาดูโน่ ทำหน้าที่รับข้อมูลจากเซนเซอร์วัดความชื่นเพื่อส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ 4) เซ็นเซอร์วัดความชื่น 5) อินฟราเรดแอลอีดี ใช้สำหรับส่ง/รับสัญญาณอินฟราเรดเพื่อตรวจวัดปริมาณอาหาร 6) เซอร์โวมอเตอร์ สำหรับหมุนกล้อง 7) เรกูเลเตอร์ สำหรับเพิ่มแรงดันไฟฟ้า และ 8) รีเลย์ ในส่วนของซอฟต์แวร์ ประกอบไปด้วย 1) เอฟซีเอ็ม ใช้สำหรับส่งข้อมูลการแจ้งเตือนไปยังแอนดรอยด์แอปพลิเคชัน  2) ภาษาไพทอน สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์บนราสเบอรีพาย 3) แอนดรอยด์สตูดิโอ สำหรับพัฒนาแอนดรอยด์แอปพลิเคชัน 4) อา-ดูโน่ไอดีอี สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของบอร์ดอาดูโน่ 5) MJPG Streamer สำหรับส่งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวไปแสดงผลบนเว็บเบราว์เซอร์ และ 6) เว็บเซิร์ฟเวอร์ สำหรับส่งดาต้าเพย์โหลดไปยังเอฟซี-เอ็ม จากการทดสอบระบบพบว่า 1) การตรวจวัดความชื่นและปริมาณอาหาร ให้ความถูกต้องร้อยละ 100 2) การแจ้งเตือน ให้ความถูกต้องร้อยละ 100 3) การสั่งเปิดน้ำ ให้อาหาร และสอดส่องดูแลสัตว์เลี้ยง ให้ความถูกต้องร้อยละ 100 และ 4) การสั่งหมุนกล้อง ให้ความถูกต้องร้อยละ 100 ข้อจำกัดที่พบ ได้แก่ ประสิทธิภาพของการสอดส่องดูแลสัตว์เลี้ยงแบบภาพเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เลือกใช้บริการและระยะห่างระหว่างระบบกับแอนดรอยด์แอปพลิเคชัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เดชาวุฒิ วานิชสรรพ์, คมศักดิ์ ผลพฤกษา และญานี ลำจอง. (2560). ระบบรักษาความปลอดภัยในบ้านด้วย
ราสเบอรีพายผ่านช่องทางเฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์. The Thirteenth National Conference on
Computing and Information Technology. 6-7 กรกฎาคม 2560 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร. 761-766.
ภูวดล โกมลรัตนเสถียร. (2561). ธุรกิจสัตว์เลี้ยงบูม ตามเทรนด์สูงอายุ, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561.
https://www.posttoday.com/market/news/540479
Bhavani, A., Jami, T. and Ashok, G. (2016). Low Cost Smart Security Camera with Night Vision
Capability Using Raspberry Pi and PIR Sensor. IJATIR. Vol.8, No.21, 4053-4056.
Firebase Cloud Messaging. (2018). Retrieved March 22,2018, from
https://firebase.google.com/docs/cloud-messaging
Gajjam, N., Patnaik, P. S. R., Gandhmal, D. P. and Bingi, V. A. (2016). Low Cost Surveillance Using Raspberry Pi through Email. IJATIR. Vol.2, No.12, 11-14.
Kehagias, D., Nini, D. (2015). Home Automation Based on an Android and a Web Application Using Raspberry Pi. American Journal of Mobile Systems, Applications and Services. Vol. 1, No. 3, 174-181.
Md Saifudaullah Bin Bahrudin, Rosni Abu Kassim and Norlida Buniyamin. (2013). Development
of Fire Alarm System using Raspberry Pi and Arduino Uno. International Conference on Electrical, Electronics and System Engineering. 4-5 Dec. 2013, 37-42.
Narkhede, Y.V. and Khadke, S. G. (2016). Application of Raspberry PI and PIR Sensor for
Monitoring of Smart Surveillance Systems. IJEECS. Vol. 5, No. 5, 145-148.
Paul, S., Antony, A. and Aswathy, B. (2014). Android Based Home Automation Using Raspberry Pi. International Journal of Computing and Technology. Vol. 1, Issue 1, February 2014, 143-147.
Prasad, S., Mahalakshmi, P., John Clement Sunder, A. and Swathi, R. (2014). Smart Surveillance Monitoring System Using Raspberry PI and PIR Sensor. International Journal of Computer Science and Information Technologies. Vol. 5, No. 6, 7107-7109.