การพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมจังหวัดชายแดนใต้ ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Main Article Content

อัปสร อีซอ
กนกวรรณ กาญจนธานี
ปวีณา เจะอารง
รุซณี ซูสารอ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมจังหวัดชายแดนใต้ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การปฏิบัติการพัฒนา และการสัมภาษณ์เจาะลึก ซึ่งจากการรับสมัครวิสาหกิจขนาดย่อมที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 ธุรกิจ มี 3 ธุรกิจที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ จำแนกรายจังหวัดได้ดังนี้ 1) ธุรกิจศรีปุตรี จังหวัดยะลา 2) ธุรกิจสะดาวาจังหวัดปัตตานี 3) ธุรกิจเซโก ฟาร์ม จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้การพัฒนากำหนดแบบแผนการวิจัยไว้ 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะการวางแผนพัฒนา การดำเนินงานพัฒนา และการสรุปผลการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมจังหวัดชายแดนใต้ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สามารถแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) การสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยการศึกษาถึงภูมิปัญญา ความถนัด ความเชี่ยวชาญเดิมของธุรกิจหรือผู้ประกอบการเป็นหลัก ควบคู่กับการค้นหาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขันซึ่งเป็นที่ยอมรับของภาคีผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อาทิ ผู้ผลิต คนกลาง ลูกค้า 2) การใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ที่กำหนด ทั้งนี้สิ่งที่พัฒนาอาจเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ตลาดเป้าหมาย ราคา การส่งเสริมการตลาดฯลฯ พร้อมผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ก่อให้เกิดยอดขายและกำไรเพิ่ม ทั้งนี้ 3 วิสาหกิจขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้ 10%-30% รวมถึงผู้ประกอบการมีความพอใจในความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Chollatep, N. (2013). Application of Creative Economy Concept of Small Enterprises Agro-Industry Entrepreneurs in Chiang Mai Province. Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai)
2.E-sor, A., Jeharrong, P., Wattanayuenyong, S. & Arlae, P. (2014). Business Development According to Creative Economy. (A case Study of Yala Province Food Processing Business of Al-Ihzan Housewife Group). International Academic & Research Conference of Rajabhat University: INARCRU III, May 20-22, 2015. Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. (in Thai)
3.Institute for small and Medium Enterprises Development. (2012). 20 Creative Identity. Pathumthani: Institute for small and Medium Enterprises Development. (in Thai)
4.Junpla, J., Kitka, P. & Wongsaming, S. (2011). Development of Thai Song Dam Woven Fabric Products to Add Value Following the Creative Economy Concept [Online]. Retrieved August 31, 2015, from: http://research.culture.
go.th/index.php/research/item/914. (in Thai)
5.Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2011). Plan of Small and Medium Enterprises Promotion No.3 (2010-2016) [Online]. Retrieved June 5, 2015, from: www.sme.go.th/.../03/แผนแม่บทฯ%20ฉบับที่%203.pdf. (in Thai)
6.Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2015). Small and Medium Enterprises Report 2014 [Online]. Retrieved June 5, 2015, from: http://www.sme.go.th/th/index.php/data-alert/alert/report-smes-year/report-year/
report-year-2558. (in Thai)
7.Patluang, K. (2011). A Holistic Policy for Stimulating Creative Economy. Journal of NIDA Development, 51(3), 207-237. (in Thai)
8.Shimp, T. A. (2010). Integrated Marketing Communications in Advertising and Promotion. (8th ed.). South-Western: Cengage Learning.
9.United Nations Conference on Trade and Development. (2008). Creative Economy Report 2008 [Online]. Retrieved March 3, 2015, from: http://theory.isthereason.com/p=2176.