การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาล

Main Article Content

เทียนทิพย์ ไกรพรม
สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์
ปัทมา หมาดทิ้ง
ฮามีน๊ะ ดือราซอ

บทคัดย่อ

องค์ประกอบทางเคมีของทางใบปาล์มน้ำมัน แกนทางปาล์มน้ำมัน และใบปาล์มน้ำมันมีค่าวัตถุแห้ง 34.12, 25.04, 44.97% โปรตีนเท่ากับ 3.32, 1.20 และ 8.12% และผนังเซลล์เท่ากับ 44.67, 47.07และ 49.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากการศึกษาทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาลในระดับ 0, 3, 5 และ 7 เปอร์เซ็นต์ โดยใส่ในถุงหมักหมักนาน 30 วัน ซึ่งแต่ละทรีทเมนต์ประกอบด้วย 5 ซ้ำ พบว่า ทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาลส่วนใหญ่มีสีเหลืองอมเขียว โดยทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาลในระดับ 3, 5 และ 7 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณของกรดอะซิติกและกรดบิวทีริคต่ำกว่าทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาล 0 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนั้นเมื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะพบว่าทางใบปาล์มน้ำมันที่หมักร่วมกับกากน้ำตาลในระดับ 5 และ 7 เปอร์เซ็นต์มีโปรตีนสูงกว่าทางใบปาล์มน้ำมันหมักที่หมักร่วมกับกากน้ำตาล 0 และ 3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้น  การใช้กากน้ำตาลหมักร่วมกับทางใบปาล์มน้ำมันในระดับ 7 เปอร์เซ็นต์ เป็นระดับที่มีความเหมาะสมแก่การนำไปใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับสัตว์กระเพาะรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกียรติศักดิ์ ศรีพันธบุตร. 2544. การศึกษาความต้องการพลังงานและโปรตีนของโคนมที่ให้นม ระยะกลางที่ได้รับฟางข้าว หมักยูเรียเป็นอาหารหยาบ. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 113 หน้า.

2. ณัฐฐา รัตนโกศล, วันวิศาข์ งามผ่องใส, ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ และเสาวนิต คูประเสริฐ. (2552). ผลการหมักทางใบปาล์ม น้ำมันร่วมกับกากน้ำตาลระดับต่างๆ ต่อการกินได้ และการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในแพะ. วารสารแก่นเกษตร, 37, 235-244.

3. ธีระ เอกสมทราเมษฐ์, ชัยรัตน์ นิลนนท์, ธีรพงศ์ จันทรนิยม, ประกิจ ทองคำ และสมเกียรติ สีสนอง. (2548). ภาพรวมของ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในเส้นทางสู่ความสำเร็จการผลิตปาล์มน้ำมัน. สงขลา : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน คณะทรัพยากรธรรมชาติ.

4. บุญฤา วิไลพล. (2539). พืชอาหารสัตว์เขตร้อนและการจัดการ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์.

5. ประดิษฐ์ อาจชมพู, ศิริศักดิ์ บริรักษ์ธนกุล, เกียรติศักดิ์ สร้อยสุวรรณ, สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ และสมพร จัทระ. (2551). การพัฒนาทางใบปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับแพะ ใน เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการงานแพะแห่งชาติครั้งที่ 5 เรื่องการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะอย่างยั่งยืน, 23 เมษายน 2551.

6. พรชัย ล้อวิลัย. (2548). พืชอาหารสัตว์หมัก. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์.

7. สายัณห์ ทัดศรี. (2547). พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
สุนทร รอดด้วง, ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ และวันวิศาข์ งามผ่องใส. (2553). ผลของระดับทางใบปาล์มน้ำมันหมักและอาหารข้นในอาหารผสมสำเร็จต่อปริมาณการกินได้ และสมรรถภาพการเจริญเติบโตของแพะเพศผู้. ใน สัมมนาวิชาการเกษตร ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13 กุมภาพันธ์ 2553.

8. วันวิศาข์ งามผ่องใส. 2549. การใช้ทางใบปาล์มน้ำมันและกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันเป็นอาหาร สัตว์เคี้ยวเอื้อง. นิตยสารวัวเศรษฐกิจ, 2(15), 20-21.

9. วารุณี พานิชผล, ฉายแสง ไผ่แก้ว, สมคิด พรหมมา, โสภณ ชินเวโรจน์, จันทกานต์ อรณนันท์, วิโรจน์ ฤทธิ์ฤาชัย และวรรณา อ่างทอง. (2547). มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมักคุณภาพดี. กรุงเทพฯ : กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์.

10. AOAC. (1990). Official Methods of Analysis. (15th ed.). Washington DC: Association of Official Analytical Chemists.

11. Cheva-Isarakul, B. & Cheva-Isarakul, B. (1980). Handbook of feed analysis. Faculty of Agriculture, Chiangmai University.

12. Church, D. C. (1991). Livestock Feeds and Feeding. U.S.A.: Prentice Hall international, inc.
Goering, H. K. & Van Soest, P. J. (1970). Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagents, Procedures and some Applications). Agricultural Handbook No. 379, USDA.

13. Ishida, M. & Abu Hassan, O. (1997). Utilization of oil palm front as cattle feed. JARQ., 13, 41-47.
Khamseekhiew, B., Liang, J. B., Jalan, Z. A. & Wong, C. C. (2002). Fibre degradability of oil palm frond pellet, supplement with Arachis pintoi in cattle. Songklanakarin. J. Sci. Technol., 24, 209-216.

14. Rohweder, D. A., Barnes R. F. & Jorgensen, N. (1978). Proposed hay grading standards based on laboratory analyses for evaluating quality. J. Anim. Sci., 47, 747-759.

15. SAS Institute. (1996). Statistical Analysis System Institute (SAS/STAT). User’s Guide. Statistics, Release 6.12, SAS Institute, Cary, NC.Washington D. C., 1-20.

16. Zobell, D. R., Okine, E. K., Olson, K. C., Wiedmeier, R. D., Goonewardene L. A. & Stonecipher, C. (2004). The feasibility of feeding whey silage and effects on production and digestibility in growing cattle. J. Anim. Vet. Advances, 3(12), 804-809.